‘อิศรญาณภาษิต’ เป็นภาษิตประเภทหนึ่ง โดยมีเนื้อหาเรียบง่ายสอนการใช้ชีวิตแบบเตือนสติ อีกทั้งยังมีเนื้อหาแนะนำเกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติให้ผู้อื่นชอบพอ มีเนื้อหาสอนว่าต้องทำอย่างไร จึงจะสามารถอยู่ในสังคมนี้ได้ โดยไม่ทำให้เกิดภัยแก่ตน ทำอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จในชีวิต บางตอนก็แสดงให้เห็นถึงคุณค่า รวมทั้งความสำคัญของผู้อื่นอย่างไม่สบประมาทกันและกัน โดยใน ‘อิศรญาณภาษิต’ มีทั้งคำสอนที่เป็นการบอกตรงๆ และคำสอนจากการใช้คำประชดประชันเหน็บแนม เนื้อหาส่วนใหญ่จะเน้นสั่งสอนให้ผู้อ่านเกิดปัญญา ไม่หลงใหลได้ปลื้มไปกับคำเยินยอ และสอนให้คุณรู้จักคิดก่อนพูด ให้ความเคารพผู้มีอายุมากกว่า รวมทั้งรู้จักความกตัญญู ‘อิศรญาณภาษิต’ คือ พระนิพนธ์ของหม่อมเจ้าอิศรญาณ มีเรื่องราวสืบทอดกันมาว่า ท่านเป็นผู้มีจริตอันผิดแผก ซึ่งมีครั้งหนึ่งพระองค์ได้กระทำสิ่งวิปริตลงไป ทำให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตรับริภาษว่าเป็นบ้า ด้วยความน้อยพระทัยท่านจึงนิพนธ์เพลงยาวฉบับนี้ขึ้นมา ด้วยความรู้สึกอัดอั้นอันเปี่ยมล้น แต่ถึงอย่างไรก็ตาม มีผู้วิเคราะห์ไว้ว่า ‘อิศรญาณภาษิต’ มิใช่พระนิพนธ์ของหม่อมเจ้าอิศรญาณพระองค์เดียว แต่ท่านทรงนิพนธ์ไว้เพียงแค่บทแรกเท่านั้น จากการคาดการณ์คิดว่าท่านทรงนิพนธ์จนถึง ‘ปุถุชนรักกับชังไม่ยั่งยืน’ เพราะมีลีลาในการแต่งด้วยการใช้น้ำเสียงเหน็บแนม และเต็มไปด้วยความประชดประชันอย่างรุนแรงซึ่งสามารถสัมผัสได้อย่างชัดเจน ส่วนอื่นๆที่เหลือเป็นของบุคคลอื่นแต่งต่อ แต่ไม่ทราบว่าใครแต่ง โดยเป็นการสอนเรื่องทั่วๆในชีวิตของมนุษย์ มีลีลาของบทประพันธ์แบบเรียบๆ มุ่งสั่งสอนจากผู้มีประสบการณ์ในชีวิต ประวัติของ หม่อมเจ้าอิศรญาณ มหากุล ผู้แต่ง ‘อิศรญาณภาษิต’ ท่านเกิดในปีพ.ศ. 2367 แต่ไม่ทราบวันที่กับเดือนแน่นอน ท่านเป็นโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโต กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศร์ พระองค์ทรงผนวช ณ วัดบวรนิเวศวิหาร มีพระชนม์ชีพอยู่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีเรื่องเล่าลือกันว่า มีเหตุการณ์หนึ่งพระองค์ทรงทำพฤติกรรมที่แตกต่างไม่เหมือนใคร จึงทำให้ใครๆ …
มาทำความรู้จัก คำคมจากอิศรญาณภาษิต
