การพัฒนาการร้อยกรองไทย

วันนี้เราจะมาพูดถึงการพัฒนาของร้อยกรองไทยกัน ในยุคแห่งการเริ่มต้นนั้นคือ ในช่วง พ.ศ. 2470 – 2490 นั้น กวีในหลายๆ ท่านได้รับอิทธิพลทางด้านแนวคิดและรูปแบบมาจาก ร้อยกรองตะวันตก ผลงานร้อยกรองในรูปแบบสั้นๆ ได้เริ่มที่จะปรากฏมากขึ้น กวีที่ใครต่อใครต่างมองว่าท่านนั้นเหมาะสมแก่การริเริ่มสร้างผลงานแนวใหม่นั้นคือ ครูเทพ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ในด้านของรูปแบบนั้น มีทั้งฉันท์ โคลง กาพย์ กลอน ที่น่าสนใจ

มากมาย ครูเทพนั้น ได้ริเริ่มโดยการเอารูปแบบของเพลงพื้นบ้านนั้นมาเขียนร้อยกรองได้อย่างงดงาม ในด้านเนื้อหานั้นจะเป็นแนวการวิพากษ์วิจารณ์สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ฯลฯ

วิสัยเด็กเปรียบได้กับไม้อ่อน               ที่ดัดร้อนรนไฟนั้นไม่คร่ำ

ดัดเย็นได้ไฉนจักไม่ทำ                         ดัดด้วยน้ำรักกระด้างอ่อนดังใจ

เก็บไม้เรียวห่อไว้ตู้เหล็ก                      สำหรับเด็กเกกมะเหรกและเหลือขอ

ทารกอ่อนเยาว์วัยใช้ลูกยอ                   และหุ้มห่อ ด้วยรักจักมีชัย

ซึ่งในยุคสมัยนั้นยังมีนักกวีอีกหลายท่านที่น่าสนใจ เช่น น.ม.ส.  และ นายชิต บูรทัต ซค่งกวีทั้ง 2 ท่านนี้ยังคงเคร่งฉันทลักษณ์ตามกวีในแบบโบราณอยู่

 

ภายหลังยุคสงครามมหาบูรพา บรรยากาศของร้อยกรองร้อยแก้วนั้น มีชีวิตชีวามากขึ้น  แนวคิดศิลปะเพื่อศิลปะ เป็นแนวคิดเชิงเสรีนิยมได้ถูกจัดขึ้นมาเป็นงานร้อยกรองเพื่อชีวิต โดยเฉพาะชีวิตของเหล่าประชาชนตาดำๆที่ทุกข์ยากและขมขื่น  กวีกลุ่มนี้นั้นได้แก่ นายผี หรือ นาย อัศนี พลจันทร์  เป็นผู้ที่ริเริ่มในการปูเส้นทางรวมไปถึงการผลิตผลงานที่มีคุณภาพออกมา และได้มีอิทธิพลต่อกวีในยุคหลังๆ ผลงานที่ดังในช่วงนั้น

เปิบข้าวทุกคราวคำ                               จงสูจำเป็นอาจิณ

เหงื่อกูที่สูกิน                                         จึงก่อเกิดมาเป็นคน

ข้าวนี้นะมีรส                                         ให้ชนชิมทุกชั้นชน

เบื้องหลังสิทุกข์ทน                               และขมขื่นจนเขียวคาว

จากแรงมาเป็นรวง                                 ระยะทางนั้นเหยียดยาว

จากรวงเป็นพราว                  ล้วนทุกข์ยากลำบากเข็ญ

ยุคแห่งความเพ้อฝัน ในช่วงปี พ.ศ. 2501 – 2506 หลังจากการปฏิวัติของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อปี พ.ศ.2501 นักเขียนในส่วนใหญ่นั้นได้ถูกจับกุม มีผลทำให้วรรณศิลป์นั้นได้มีความเปลี่ยนแปลงไปยังแนวแห่งความเพ้อฝัน และสะท้อนสังคมด้วยวิธีที่นุ่มนวล ไม่ก้าวร้าว งานร้อยกรองในส่วนใหญ่นั้นจะมุ่งเน้นไปทางกลอนรักตัดพ้อต่อว่าหนุ่มๆ สาวๆ เสียมากกว่า นักกลอนส่วนใหญ่ในยุคนี้จะอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย ได้แก่ เนาวรัตน์ พงไพบูลย์ , ประยอม ซองทอง, นภาลัย สุวรรณธาดา ฯลฯ ผลงานเช่น

อย่านะหวั่นไหวใจห้ามขาด                 ใจตวาดแล้วใจใยผวา

ตาร้องไห้ใจก็ตามไปห้ามตา                                สมน้ำหน้าหัวใจร้องไห้เอง

ยุคแห่งการแสวงหาในปี พ.ศ. 2506 -2510 รูปแบบและแนวคิดใหม่ๆของร้อยกรองนั้นได้เกิดขึ้น แบ่งออกเป็นหลายแนวด้วยกัน

 

  • กลุ่มสืบทอดแนวเพ้อฝันหรือแสดงอารมณ์ส่วนตัว
  • กลุ่มสะท้อนชีวิตสังคมรุ่นใหม่
  • กลุ่มปลดแอกฉันทลักษณ์

ยุคศิลปะเพื่อมวลชน 14 ตุลาคม 2516 – 6 ตุลาคม 2519 จากเหตุการณ์นองเลือดนั้น ทำให้บรรยากาศทางด้านการเมืองได้เปลี่ยนไป นับจากเหตุการณ์วิปโยคนักเขียนในหลายๆคนนั้นได้ทำการบันทึกถึง เรื่องราว และสดุดีวีรชนที่เสียชีวิตอย่างมากมาย ด้วยอารมณ์ที่สะเทือนใจ เช่น

ใบไม้มีรอยพรุนกระสุนศึก

ในน้ำลึกมีร่องโลหิตฉาน

เสียงลึกลับขับร้องฟ้องร้องพยาน

และเนิ่นนานนับแต่นั้นฉันสุดทน

ยุคพฤษภาทมิฬ 4 พฤษภาคม 2535 – ปัจจุบัน  บรรยากาศร้อยกรองไทยนั้น ได้มีความเปลี่ยนแปลงมาจนถึงปัจจุบัน ในช่วงพฤษภาเลือด เกิดเหตุวิกฤตทางการเมือง เมื่อผู้นำรัฐบาล พลเอกสุจิดา คราประยูร โดนขับไล่เหล่าทหารลุยฆ่าประชาชน พลังผู้ต่อต้านได้เรียกร้องหาประชาธิปไตย บทร้อยกรองในช่วงนี้นั้นเรียกๆได้ว่าสะท้อนความเจ็บปวด ร้าวลึกผนึกด้วยหยาดเลือด และหยาดน้ำตาของแผ่นดินเลยก็ว่าได้